จากการที่แผนพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม แผนพัฒนาฯฉบับที่ 8 ( 2540 -
2544)
มีวัตถุประสงค์
ส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่อยู่นอกระบบโรงเรียนได้มีโอกาสอ่านหนังสือ
และใช้ภาษาไทยที่
มีลักษณะเหมาะสม และสอดคล้องกับปัญหาของท้องถิ่น
โดยจัดให้มีที่อ่านหนังสือ และสื่อส่งเสริมการใช้ภาษาไทยเพิ่ม
เติมให้เพียงพอกับความต้องการส่งเสริมให้ประชาชนทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียนได้รับรู้ข่าวสารที่เป็นประโยชน์
ต่อการดำรงชีวิตด้วยการจัดให้มีการกระจายข่าวสารข้อมูลจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่นอย่างมีระบบต่อเนื่องและนำเอา
ความรู้ทักษะทางด้านวิชาชีพไปใช้ในการประกอบอาชีพประจำวันและเป็นประโยชน์์ต่อการพัฒนา
ส่งเสริมและสนับ
สนุนให้เด็กและเยาวชนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ในกลุ่มเป้าหมายได้มีโอกาสศึกษาต่อในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
รวม
ทั้งได้รับส่งเสริมและสนับสนุนการกีฬาและนันทนาการ
ส่งเสริมให้มีตัวแทนอาสาสมัครภาคเอกชนเป็นแกนหลักในการ
พัฒนาชนบท
โดยการอบรมผู้ที่จะเป็นผู้นำท้องถิ่นของแต่ละชุมชนอย่างมีระบบและดำเนินการครบวงจร
ส่งเสริมให้
เกิดความร่วมมือในการพัฒนาชนบท ระดับจังหวัด อำเภอ หมู่บ้าน
ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐและเอกชน
และ
จัดหาแหล่งน้ำในสถานศึกษากลุ่มเป้าหมาย
จังหวัดนครราชสีมาได้ดำเนินการตามแผนฯ อย่างต่อเนื่องโดย ในปี
2539
จังหวัดนครราชสีมา
มีสถานศึกษารวมที่สอนในระบบทั้งสิ้น 1,575
แห่ง มีนักเรียน นักศึกษา รวมทั้ง
สิ้น 502,440 คน มีครู
/อาจารย์ทั้งสิ้น 24,418 คน ในปี 2540
จังหวัดนครราชสีมามีสถานศึกษา ที่สอนใน
ระบบทั้งสิ้น
1,591 แห่ง มีนักเรียนและนักศึกษา ทั้งสิ้น 526,641
คน มีครูอาจารย์ 24,717 คน คิดเป็น
อัตราส่วนครูต่อนักเรียน ในภาพรวมเท่ากับ 1 : 21
|
ตามแผนพัฒนาฯ 8 เปิดโอกาสให้ นร.
ประถมได้ศึกษาต่อมัธยม |
|
ปัจจุบัน
มีสถานศึกษาในจังหวัดนครราชสีมาที่เปิดในระดับอุดมศึกษาจำนวน 6 แห่ง คือ
1 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ระดับปริญญาตรี -
ปริญาเอก
2 สถาบันราชภัฏนครราชสีมาระดับปริญญาตรี
3
สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปวช/ ปวส/
และปริญญาตรี
4 มหาวิทยาลัยสงฆ์ (วิทยาเขต ) วัดพระนารายณ์มหาราช
ถึงระดับปริญญาตรี
5 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า )
เปิดสอนระดับปริญญาโท
6 มหาวิทยาลัยรามคำแหง
เปิดสอนระดับปริญญาโท
สำหรับสถานศึกษาของเอกชนที่เปิดสอนในระดับปริญาตรีและโท
คือ มหาวิทยาลัย วงษ์ชวลิตกุล
จำนวนอัตราการเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
-ในปี การศึกษา 2533 มี
ร้อยละ 51.18
-ในปี การศึกษา
2534 มี ร้อยละ 70.41
-ในปี
การศึกษา 2536 มี ร้อยละ
91.31
-ในปี การศึกษา 2539 มี
ร้อยละ 94.43
จะเห็นว่าปัจจุบันประชากรที่เรียนในโรงเรียนมีแนวโน้มการเรียนต่อในระดับสูงกว่าชั้นมัธยมศึกษา
ตอนต้นสูงขึ้นก ว่า
ร้อยละ
95
การเรียนต่อของนักเรียนที่สำเร็จชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หรือ ประกาศนียบัตร
วิชาชีพ ปีที่ 1
(ปวช)
ในปีการศึกษา 2539 มีนักเรียนจบชั้น ม.3 รวม 27,901 คน
นักเรียนที่สำเร็จเหล่านี้ได้เข้าเรียนชั้น ม.4 /ปวช. 1
รวม 23,126 คน
คิดเป็นอัตราเรียนต่อร้อยละ 82.88
ต่อมาในปีการศึกษา 2540 มีนักเรียนจบชั้น ม.3
รวม 31,717 คน และนักเรียนที่จบเหล่านี้ได้เข้าเรียนต่อในชั้น ม.4 / ปวช.1 รวม
26,981 คน คิดเป็นอัตราเรียน
ต่อร้อยละ 85.07
จากข้อมูลตัวเลขดังกล่าวการเรียนของนักเรียนที่จบชั้น ม.3
เข้าเรียนต่อชั้น ม. 4 /ปวช.1 มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่าง
ต่อเนื่อง
พ.ศ. 2538
ประชากรได้รับการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยร้อยละ 3.23 (61,003 คน)
ระดับมัธยมศึกษา
ร้อยละ 11.48 (216,508 คน) ระดับประถมศึกษาร้อยละ
85.13 (1,605,984 คน) และการศึกษาอื่น
ร้อยละ 0.16 (3,0800 คน)
รวมทั้งไม่ได้รับการศึกษาร้อยละ 10.04 (211,908 คน)
ที่มา : สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครราชสีมา : 2539