เว็บที่ให้ข้อมูลการท่องเที่ยวในจังหวัดโคราชอย่างเป็นทางการ
tourkorat-logo
เมนูหลัก
 

หน้าแรก
โฆษณากับเรา
การศึกษา
ของฝากจากโคราช
การสาธารณสุข
ประวัติความเป็นมา
โครงสร้างพืนฐาน
ประชากร
โรงแรมที่พัก
แหล่งท่องเที่ยว
การเดินทาง

PIC POST

send-pictures
 
send-your-picture

board-menu
เว็บดีมีประโยชน์ 
 
 
 
 
โฮสกับ Sun Server
arrow เริ่มต้น 300 ต่อปีได้ 300 MB
arrow วางได้มากกว่า 1 โดเมน
arrow ฟรี ร้านค้่าออนไลน์
arrow สร้างร้านค้าง่ายๆ ได้เอง
arrow มีวิดิโอสอนการใช้งาน
arrow ค้าขายออนไลน์ได้จริง
arrow ให้คำแนะนำเรื่อง SEO
 (ทำเว็บให้ติดอันดับใน Google)

 
history-icon ประวัติความเป็นมา


Untitled Document โครงสร้างพื้นฐาน | คำขวัญประจำจังหวัด | ที่ตั้งและอาณาเขต | ลักษณะภูมิประเทศ |
ลักษณะภูมิอากาศ และธรณีวิทยา | ศูนย์กลางจังหวัด | จุดเด่นและขีดความสามารถในการพัฒนา | เอกสารอ้างอิง |

 

ใน ปี พ.ศ. 2434 ได้มีการจัดตั้งการปกครองออกเป็นมณฑล และได้โปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมหัวเมืองในเขตที่ราบสูง
ในการนี้   รัชกาลที่  5    ทรงตั้งเมืองนครราชสีมาเป็นที่ว่าการมณฑลลาวกลาง  ในปี   พ.ศ  2434   (ร.ศ.110)
นครราชสีมาจึงเป็นเมืองหน้าด่าน เป็นเมืองใหญ่  และสำคัญยิ่งในสมัยโบราณมีฐานะเป็นเมืองชั้นเอก  มี "เจ้าพระยา"
มีอำนาจปกครองหัวเมือง   โปรดให้     พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นสรรพ-สิทธิ์ประสงค์    เป็นข้าหลวงใหญ่     ต่อมา
พ.ศ. 2450     กระทรวงมหาดไทย   ปรับปรุงหัวเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ     ให้เป็นมณฑลนครราชสีมาซึ่ง
ประกอบด้วย  3  เมือง 17  อำเภอคือเมืองนครราชสีมา 10  อำเภอ  เมืองชัยภูมิ  3  อำเภอ และเมืองบุรีรัมย์ 4 อำเภอ
และต่อมาให้ตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร แห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476  ขึ้น จึงยุบมณฑลนครราชสีมา
และจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค  ออกเป็นจังหวัดและอำเภอ  ยกเลิกมณฑลจังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยบริหาร
ราชการแผ่นดิน  มีข้าหลวงประจำจังหวัด และกรรมการจังหวัดเป็นผู้บริหาร

 

Monument

อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี



ต่อมา  ใน พ.ศ.  2495  ได้มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน    เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงพระราช
บัญญัติระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม  พ.ศ.  2476   โดยมีสารสำคัญของการเปลี่ยนแปลง  คือ
1. จังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล
2. อำนาจบริหารในจังหวัด เป็นของผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา
3. คณะกรรมการจังหวัด เดิมเป็นคณะบุคคลที่มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดได้กลายเป็นเจ้าหน้าที่
ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัด

ต่อมาได้มีประกาศของคณะปฎิวัติ   ฉบับที่  218   ลงวันที่  29  กันยายน  2515     ได้ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วย
ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน   โดยจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นจังหวัด   และอำเภอ  จังหวัดให้รวม
ท้องที่หลาย ๆ    อำเภอขึ้นเป็นจังหวัด    มีฐานะเป็นนิติบุคคล   การตั้ง   ยุบ   และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัดให้ตราเป็น
พระราชบัญญัติ   และให้มีคณะกรรมการจังหวัดเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดิน
ในจังหวัดนั้น  ปัจจุบันจังหวัดนครราชสีมา   แบ่งการปกครองออกเป็น  26  อำเภอ  6  กิ่งอำเภอ ดังนี้อำเภ อ  

1.  อำเภอแก้งสนามนาง
2. อำเภอขามทะเลสอ
3. อำเภอขามสะแกแสง
4. อำเภอคง
5. อำเภอครบุรี
6. อำเภอจักราช
7. อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
8. อำเภอชุมพวง
9. อำเภอโชคชัย
10. อำเภอด่านขุนทด
11. อำเภอโนนแดง
12. อำเภอโนนไทย
13. อำเภอโนนสูง

14. อำเภอบัวใหญ่
15. อำเภอบ้านเหลื่อม
16. อำเภอประทาย
17.  อำเภอปักธงชัย
18. อำเภอปากช่อง
19. อำเภอพิมาย
20. อำเภอเมืองนครราชสีมา
21. อำเภอวังน้ำเขียว
22. อำเภอสีคิ้ว
23. อำเภอสูงเนิน
24. อำเภอเสิงสาง
25. อำเภอหนองบุนนาก
26. อำเภอห้วยแถลง

กิ่งอำเภอ
1.  กิ่งอำเภอเทพารักษ์
2.  กิ่งอำเภอบัวลาย
3.  กิ่งอำเภอพระทองคำ
4.  กิ่งอำเภอเมืองยาง
5.  กิ่งอำเภอลำทะเมนชัย
6.  กิ่งอำเภอสีดา

มี 4  เทศบาล  คือ
1.  เทศบาลนครนครราชสีมา
2.  เทศบาลตำบลปากช่อง
3.  เทศบาลตำบลบัวใหญ ่
4.  เทศบาลตำบลโนนสูง
ในเขตเทศบาล มีพื้นที่  22055.431  ตารางกิโลเมตร 

จังหวัดมี 267  อบต. 287  ตำบล  3,331 หมู่บ้าน
ถึงปี 2540  มีประชากรในจังหวัด  2,55,740  คน เป็นประชากรหญิง 126,641  คน ประชากรชาย 119,099  คน
พื้นที่จังหวัด  21,308.98   ตารางกิโลเมตร  หรือประมาณ  13,318,112  ไร่  คิดเป็นร้อยละ 12.12  ของพื้นที่ภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่เป็นอันดับ  1 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มีพื้นที่เป็นอันดับ  2 ของประเทศ รองจากจังหวัดเชียงใหม่
เป็นพื้นที่การเกษตรประมาณ  7,942,623     ไร่
เป็นพื้นที่ป่าไม้ประมาณ  1,766,250   ไร่
พื้นที่อื่น ๆ  ประมาณ  3,562,985  ไร่่
ระยะทางจากกรุงเทพมหานคร

ทางรถยนต์      255     กิโลเมตร
ทางรถไฟ         264     กิโลเมตร

 

 

foods-and-gifts it-com forum friends sale others complain