ศูนย์กลางจังหวัด คือที่ตั้งอำเภอเมืองซึ่งตั้งอยู่ประมาณกึ่งกลางของจังหวัด ระยะทางจากอำเภอต่าง
ๆ กับอำเภอ
เมืองริมแนวพรมแดนของจังหวัดมีระยะทางไม่ต่างกันมาก
ประชาชนสามารถเข้ามาติดต่อธุรกิจในตัวอำเภอเมือง
และสามารถเดินทางไปกลับได้ภายในวันเดียว เพราะที่ตั้งของทุกอำเภอ
อยู่ในรัศมีทางตรงไม่เกิน 75 กิโลเมตร
ที่ตั้งของอำเภอเมืองนอกจากจะเป็นศูนย์กลางทุกด้านของจังหวัดแล้ว
ยังเป็นศูนย์กลางธุรกิจ การคมนาคมขนส่งและ
การทหารของภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย
พื้นที่ให้บริการของศูนย์กลาง จึงไม่ได้ครอบคลุม เฉพาะจังหวัดนี้ แต่
หน้าที่บางอย่างครอบคลุมทั้งภาค
จึงเป็นผลให้เมืองนครราชสีมาขยายตัวอย่างรวดเร็ว
โดยส่วนหนึ่งมาจากแผน
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่
4 (พ.ศ. 2520 - 2524)
ที่มุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้กับ
นครราชสีมาเพื่อเป็นเมืองหลักในจำนวน 4
เมืองของภูมิภาคนี้ (ขอนแก่น, อุดรธานี,และอุบลราชธานี)
และยังต่อ
เนื่องในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525 -
2529) ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2530 -
2534) ฉบับที่ 7
(พ.ศ. 2535 - 2539) และแผนพัฒนาฯ
ฉบับที่ 8 ฉบับปัจจุบัน (2540 - 2544)
ที่เน้นการพัฒนาทาง
ด้านการกระจายอำนาจการปกครอง
การกระจายรายได้ การจัดรูปการพัฒนาทั้งภาคเศรษฐกิจและสังคมให้สอด
ประสานคล้องกัน
กับพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดเพื่อมิให้เกิดภาวะก้าวกระโดดทางการพัฒนาจน
ขาดการเชื่อมต่อกับพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
และสังคมของจังหวัด เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่เป้า
หมายของการที่มีชีวิตดีในทุกๆ
ด้านไม่เน้นการเพิ่มรายได้และการดำเนินนโยบายของการพัฒนาในทุก ๆ ด้านจะ
ต้องผ่านกระบวนการพัฒนา จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
และการส่งเสริมและพัฒนาการอุตสาหกรรม
|
หอนาฬิกาบริเวณศาลากลางจังหวัด |
|
|