ลักษณะภูมิประเทศ
ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง 150 - 300 เมตร
ทางด้านใต้ มีเทือกเขาดงพญาเย็น( เขาใหญ่ )
ทางด้านตะวันตก
มีเทือกเขาพนมดงรัก
บริเวณตอนล่างค่อนไปทางเหนือและตะวันออกเป็นที่ราบลุ่ม
ก่อให้เกิดต้นน้ำลำธารสำคัญหลายสาย เช่น ลำน้ำมูล
ลำพระเพลิง
ลำตะคอง ลำเชิงไกร ลำปลายมาศ ลำแซะ ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญของจังหวัด
ก่อให้เกิดที่ราบลุ่ม
บางส่วนและพื้นที่มีลูกคลื่นลอนลึกโดยทั่วไป
ท้องถิ่นเรียกลักษณะภูมิประเทศเช่นนี้ว่า " โคก" โดยสามารถแบ่ง
ออก
เป็น 4 บริเวณ คือ
บริเวณเทือกเขา
และที่สูงทางตอนใต้ของจังหวัดมีความสูงจากระดับน้ำทะเลมากกว่า 250 เมตร
อยู่ในบริเวณ
อำเภอปากช่อง อำเภอปักธงชัย อำเภอครบุรี และอำเภอเสิงสาง
มีเทือกเขาสันกำแพง และพนมดงรัก เป็นแนวยาว
ตั้งแต่ส่วนต่อกับจังหวัดปราจีนบุรี นครนายก และสระบุรี
เทือกเขานี้เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำหลายสาย ที่ไหลไป
ทางตะวันออกของภาค เช่น แม่น้ำมูล ลำแซะ ลำพระเพลิง ลำตะคลอง
และลำปลายมาศ พื้นที่ระหว่างเทือกเขาส่วน
ใหญ่มีลักษณะเป็นลูกคลื่น
ลอนลึกและลอนตื้น ตอนล่างของหุบเขามีความลาดชันค่อนข้างมากทำให้มีลักษณะการพัง
ทลายของหน้าดินในบริเวณนี้ค่อนข้างสูง
บริเวณที่สูงตอนกลางของจังหวัด
มีความสูงจากน้ำทะเล ระหว่าง 200 - 300 เมตร
อยู่ในเขตอำเภอด่านขุนทด
อำเภอสีคิ้ว ตอนล่างของอำเภอโนนไทย อำเภอขามทะเลสอ
อำเภอเมืองและ อำเภอสูงเนิน ตอนบนของอำเภอปักธงชัย
และอำเภอครบุรี
อำเภอโชคชัย อำเภอหนองบุนนาก และอำเภอจักราช
และตอนบนของอำเภอเสิงสาง ลักษณะ
ส่วนใหญ่เป็นลูกคลื่นตื้น
ยกเว้นบริเวณใกล้เชิงเขาที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ลูกคลื่นลึก
พื้นที่บางส่วนเป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งน้ำ
มีน้ำไหลผ่านหลายสาย ได้แก่ ลำแซะ
ลำพระเพลิง ลำตะคอง
และแม่น้ำมูล
พื้นที่ลูกคลื่นทางตอนเหนือของจังหวัด
มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 200 เมตร อยู่ในเขตอำเภอขาม
สะแกแสง ตอนบนของอำเภอโนนไทย อำเภอคง ทางทิศตะวันตกของอำเภอบัวใหญ่
อำเภอบ้านเหลื่อม อำเภอห้วย-
แถลง และอำเภอชุมพวง
มีลักษณะเป็นพื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้นที่สูงสลับชั้นที่ทำนา
บางตอนเป็นพื้นที่ราบริมฝั่งแม่น้ำ
ลำเชียงไกร และ
ลำปลายมาศ
บริเวณที่ราบลุ่มตอนเหนือของจังหวัด
มีความสูงจากระดับน้ำทะเล น้อยกว่า 200 เมตร อยู่ในเขต อำเภอบัวใหญ่
อำเภอคง อำเภอโนนสูง อำเภอประทาย และอำเภอพิมาย
มีลักษณะเป็นพื้นที่ลูกคลื่นลอนตื้น และมีที่ราบลุ่มบริเวณฝั่ง
ลำน้ำสะแทด
รูปร่าง รูปร่างจังหวัดนครรราชสีมามีรูปร่างคล้ายว่าวจุฬา
ไม่มีส่วนใดที่ยื่นยาวออกไปมาก ในทางภูมิศาสตร์ การ
เมืองถือว่ามีลักษณะกะทัดรัด ทำให้การปกครองมีปัญหาน้อยกว่ารูปร่างยาว
ระยะทางวัดจากทางตะวันออกเฉียงเหนือ คือสุดเขตอำเภอชุมพวง
ที่ตำบลบ้านกระเบื้อง ถึงตะวันตกเฉียงใต้ ปลาย
สุดอำเภอปากช่องที่ตำบลกลางดง ซึ่งเป็นด้านที่ยาวที่สุดของจังหวัด ยาวประมาณ
217 กิโลเมตร
กว้างที่สุด
วัดจากปลายสุดเขตบ้านลำสนธิ อำเภอด่านขุนทด
ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ถึงปลายสุด เขตอำเภอ
เสิงสาง
กว้างประมาณ 177.5
กิโลเมตร
จากการที่จังหวัดนครราชสีมามีพื้นที่กว้างขวาง
ลักษณะภูมิประเทศก็แตกต่างกันประกอบกับมีการอพยพของราษฎร
ในจังหวัดใกล้เคียงเข้ามาทำมาหากินเป็นจำนวนมาก
จึงทำให้ประชาชนมีภาษาและขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตก
ต่างกัน แบ่งได้เป็น 3
กลุ่มใหญ่ คือ
1. กลุ่มสังคมเก่า หรือกลุ่มคนไทยโคราช ภาษาที่ใช้คือ
ภาษาโคราช
2. กลุ่มสังคมใหม่ เป็นกลุ่มที่เข้าอยู่ใหม่
ภาษาที่ใช้ก็สุดแต่ว่ามาจากจังหวัดใด
3. กลุ่มคนไทยอีสาน
มีลักษณะสังคมไทยกึ่งลาว ภาษาที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นภาษาลาว
|