สาธารณูปโภค สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจในส่วนภูมิภาคนั้น
รัฐบาลได้มีนโยบายที่จะกระจายอุตสาหกรรมออกจาก
กรุงเทพฯ
และอาณาบริเวณโดยรอบมาสู่ต่างจังหวัด
จึงได้พยายามที่จะเสริมสร้างศักยภาพของจังหวัด ด้านระบบ
สาธารณูปโภคต่าง
ๆ ที่จำเป็น
ให้เพียงพอแก่ความต้องการและรองรับความเจริญเติบโตของเมือง
พร้อมที่จะเป็น
ศูนย์กลางในการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
เพื่อลดปัญหาการกระจุกตัวของอุตสาหกรรม ดังนี้
|
ระบบประปาในชุมชน |
|
การประปา การประปาจังหวัดนครราชสีมา มีที่ทำการประปา ดำเนินการโดยสำนักงานการประปานครราชสีมา
10 แ ห่ง คือ
-สำนักงานประปานครราชสีมา
-สำนักงานประปาสีคิ้ว
-สำนักงานประปาปากช่อง
-สำนักงานประปาปักธงชัย
-สำนักงานประปาโชคชัย-จักราช
-สำนักงานประปาครบุรี
-สำนักงานประปาพิมาย
-สำนักงานประปาโนนสูง
-สำนักงานประปาด่านขุนทด
-สำนักงานประปาชุมพวง
- ประทาย
นอกจากนี้ ยังอยู่ในความดูแลของท้องถิ่นอีก 5
แห่ง คือ เทศบาลนครนครราชสีมา เทศบาลตำบลบัวใหญ่ สุขาภิบา
ล
โนนแดง และสุขาภิบาลประทาย
นอกนั้นเป็นประปาหมู่บ้านที่อยู่ในความดูแลของกรมโยธาธิการ กรมอนามัย สำนักง
าน
เร่งรัดพัฒนาชนบท
แหล่งน้ำ สำนักงานการประปาของจังหวัดนครราชสีมา
เทศบาลปากช่อง อำเภอปากช่อง สุขาภิบาลสูงเนิน และสุขาภิบา
ล
จอหอใช้แหล่งน้ำที่ลำตะคอง
ปริมาณน้ำที่การประปาเทศบาลนครนครราชสีมาใช้จากลำตะคอง(ส่งท่อโดยตรงจากอ่าง
เก็บน้ำลำตะคอง) ปริมาณน้ำที่ใช้ต่อเดือน 2,291,040 ตารางลูกบาศก์เมตร
ในหนึ่งปี ใช้น้ำจำนวน 27,520,000
ตารางลูกบาศก์เมตร ส่วน
ความต้องการใช้น้ำเฉพาะของส่วนราชการที่ได้รับอนุญาตใช้น้ำจากลำตะคอง
ปริมาณน้ำ
ที่ใช้ต่อเดือน 460,000
ตารางลูกบาศก์เมตร ในหนึ่งปีใช้น้ำถึงจำนวน
5,520,000 ตารางลูกบาศก์เมตร
ในส่วนการประปาบ้านมงคลชัยนิเวศน์
หมู่บ้านริมฟ้า หมู่บ้านสุรนารีใช้จากบ่อบาดาล
สุขาภิบาลโชคชัย ใช้แหล่งน้
ำ
คลองชลประทานลำพระเพลิงและสระบึง สุขาภิบาลเมืองปัก
ใช้แหล่งน้ำคลองชลประทานลำพระเพลิง และสระบึงปิง
ส่วนสุขาภิบาลแซะ
อำเภอครบุรีใช้แหล่งน้ำลำแซะ
|
เขื่อนลำตะคองแหล่งน้ำที่สำคัญของจังหวัด |
|
จังหวัดมีแหล่งน้ำต่าง
ๆ ที่สำคัญ คือ
1. เขื่อนลำตะคอง อำเภอสีคิ้ว ความจุ 310
ล้านลูกบาศก์เซนติเมตร. จากการประเมินความต้องการใช้น้ำขอ
ง
กิจกรรมต่าง ๆ สามารถสรุปบัญชีต้นทุน และสมดุลของปริมาณน้ำในลุ่มน้ำ
พบว่าความต้องการใช้น้ำจากภาคเกษตร
กรรมมีปริมาณมากที่สุด
ในขณะที่ความต้องการใช้น้ำจากชุมชนเป็นอันดับสอง
ส่วนความต้องการใช้น้ำในภาค
อุตสาหกรรมรองมาจากชุมชน
ในอนาคตความต้องการใช้น้ำจากภาคเกษตรกรรมมีแนวโน้มลดลง
ทั้งนี้เนื่องจากข้อ
จำกัดของอาณาเขต
พื้นที่ชลประทานและการใช้ประโยชน์ที่ดินมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงจากการใช้ที่ดินเพื่อการเกษต
ร
เป็นที่อยู่อาศัยและกิจกรรมอื่น ๆ มากขึ้น
ส่วนความต้องการใช้น้ำในภาคอุตสาหกรรมในอนาคตมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้ น
เช่นกัน
ทั้งนี้เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น
สำหรับความต้องการใช้น้ำจากการท่องเที่ยว พบว่า
มีอัตราการเพิ่มมากที่สุด
แต่ก็ยังมีปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับกิจกรรมอื่น
ตาราง
การประเมินปริมาณสมดุลของน้ำจากความต้องการใช้น้ำในลุ่มน้ำลำตะคอง
ที่มา : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2539
รายงานเบื้องต้นแผนพัฒนาระบบน้ำ
2. เขื่อนลำพระเพลิง อ.ปักธงชัย ความจุ 152 ล้านลูกบาศก์เซนติเมตร.
3. เขื่อนลำมูลบน อ.ครบุรี ความจุ 141 ล้านลูกบาศก์เซนติเมตร.
4.
อ่างลำสำลาย อ.ปักธงชัย ความจุ 39.80
ล้านลูกบาศก์เซนติเมตร.
5. เขื่อนลำแซะ อ.ครบุรี
ความจุ 275 ล้านลูกบาศก์เซนติเมตร.
6. เขื่อนลำปลายมาศ อ.เสิงสาง ความจุ 98 ล้านลูกบาศก์เซนติเมตร.
7.
อ่างลำเชียงไกร อ.โนนไทย ความจุ 20.25
ล้านลูกบาศก์เซนติเมตร.
8. อ่างห้วยซับประดู่ อ.สีคิ้ว
ความจุ 27.66 ล้านลูกบาศก์เซนติเมตร.
9. อ่างลำฉมวก อ.ห้วยแถลง ความจุ 23.44 ล้านลูกบาศก์เซนติเมตร.
10.
อ่างห้วยบง อ.ชุมพวง ความจุ 14.44 ล้านลูกบาศก์เซนติเมตร.
11.
อ่างห้วยยาง อ.ปักธงชัย ความจุ 5.53
ล้านลูกบาศก์เซนติเมตร.
12. เขื่อนยางแก้งสนามนาง อ. แก้งสนามนาง
ความจุ 3.38 ล้านลูกบาศก์เซนติเมตร.
การใช้น้ำประปา จังหวัดมีโรงกรอง 2 แห่ง คือ
โรงกรองน้ำอัษฏางค์ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2477 ตั้งอยู่บนพื้น
ที่ 5
ไร่ มีกำลังการผลิต 30,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน
และโรงกรองน้ำบ้านมะขามเฒ่า ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านใหม่
อำเภอเมือง
สร้างเมื่อ พ.ศ. 2534 บนพื้นที่ 200 ไร่ มีกำลังการผลิตวันละ 78,400 ลูกบาศก์เมตร
และแบบระบบ
กรองน้ำซ้ำ โดยโรงกรองน้ำทั้งสองแห่งใช้น้ำดิบจากลำตะคอง
-
จำหน่ายน้ำในเขตเทศบาล 2 เขต
- จำหน่ายน้ำในเขตสุขาภิบาล
13 เขต
- ผู้ใช้น้ำ 33,600 ราย ในปี 2539
แบ่งเป็นเพื่อที่อยู่อาศัย 33,179 ราย ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดย่อม
ประมาณ 262 ราย และใช้ในสถานที่ราชการ 266 ราย
-
ปริมาณน้ำที่ผลิตได้ เฉลี่ย 10,161,856 ลูกบาศก์เมตร/ ปี ในปี 2539
เทศบาลนครราชสีมา มีกำลังการผลิต
น้ำประปา วันละ 96,300
ลูกบาศก์เมตร
- กำลังการผลิตของโรงกรองแต่ละแห่ง
สามารถผลิตได้ 300 ลูกบาศก์เมตร/ ชั่วโมง ใน 1
วันสามารถผลิต
ได้ 7,200 ลูกบาศก์เมตร คาดว่าในปี 2541
จะมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น 450 ลูกบาศก์เมตร / ชั่วโมง
-
ปริมาณน้ำจำหน่าย 6,719,820 ลูกบาศก์เมตร
- ปริมาณน้ำสูญเสียเฉลี่ย
ร้อยละ 33.87
-
ค่าใช้จ่ายในการผลิตคิดเป็น 9.17 บาท / ลูกบาศก์เมตร
-
ค่าบริการน้ำประปาคิดเป็นแบบก้าวหน้า เริ่มจาก 3.75 บาท / ลูกบาศก์เมตร
ในส่วนที่อยู่อาศัย และคิดเพิ่มอีกใน
ส่วนของโครงการขนาดใหญ่ โรงแรม
ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
ผู้ใช้น้ำประปาในจังหวัดนครราชสีมา
นอกเขตเทศบาลนครนครราชสีมา
- ชุมชนที่มีน้ำประปาใช้ จำนวน
522 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ
17.2
- ชุมชนที่ไม่มีน้ำประปาใช้ จำนวน 2,452
หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ
82.4
น้ำประปาที่ได้รับบริการได้มาจากการประปาของเขตเทศบาลต่าง ๆ
การประปาหมู่บ้าน และจากสำนักงานการประปา
นครราชสีมา จำนวนผู้ใช้บริการ
มีผู้ใช้น้ำ 3,900 ราย (คิดเป็นร้อยละ 3.5) จำนวนผู้ยังไม่มีน้ำใช้ประมาณ 107,527
ราย (คิดเป็นร้อยละ 96.5)
เนื่องจากท่อจ่ายน้ำยังไปไม่ถึงและผู้จัดตั้งโครงการบ้านจัดสรรโครงการใหญ่ ๆ
ยังไม่ทำ
การวางท่อให้กับลูกค้าในโครงการ
(จากข้อมูลของ กชช.2ค ปี 2537 และ
2539) (การประปาเทศบาลนคราชสีมา ปี 2540)
ตาราง
ปริมาณการผลิตน้ำประปาในแต่ละปี
หลังจาก ปี 2515 เป็นต้นมา
จังหวัดมีความต้องการใช้น้ำประปา เพื่อการอุปโภค บริโภค
และเพื่อการอุตสาหกรรม
ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา ปี 2537
มีความต้องการใช้น้ำ 71,279.56 ลูกบาศก์เมตร/วัน มีกำลังการผลิต
เพียง 69,650 ลูกบาศก์เมตร/วัน ในปี 2539
มีความต้องการใช้น้ำ ประมาณ 72,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน
ในขณะที่กำลังผลิตน้ำประปาของเทศบาลผลิตได้ประมาณวันละ 70,000
ลูกบาศก์เมตร ซึ่งไม่เพียงพอต่อความ
ต้องการ
และอนาคตในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา
มีแนวโน้มการขยายตัวของความเป็นชุมชนเมืองสูงมาก และ
เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จากการคาดการว่าใน ปี 2542 มีความต้องการใช้น้ำ
81,680.29 ลูกบาศก์เมตร/วัน
ปี 2587
มีความต้องการใช้น้ำ 105,196.58
ลูกบาศก์เมตร/วัน และ ปี
2587 มีความต้องการใช้
น้ำ
232,010.68 ลูกบาศก์เมตร/วัน
จะเห็นว่ามีความต้องการใช้น้ำเพิ่มขึ้นในแต่ละปี ทำให้เกิดปัญหาเรื่องการ
ขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค
ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา เนื่องจาก
กำลังผลิตน้ำประปาของเทศบาลนคร
นครราชสีมา
ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะรองรับกับความต้องการใช้น้ำทั้งในปัจจุบันและในอนาคตในทุก
ๆ ด้าน
โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมทำให้เกิดปัญหาความไม่เพียงพอสูงมากขึ้น
เพื่อแก้ไขการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค
ในตัวเมือง
เทศบาลจังหวัดนครราชสีมาได้พยายามปรับปรุงเกี่ยวกับการประปา จำนวน 10 ครั้ง
เป็นการก่อสร้าง
ระบบ ต่อมารัฐบาลจึงได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย
โดยกรมโยธาธิการ ดำเนินการก่อสร้างระบบประปา ให
้แก่เทศบาล
โดยกู้เงินกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเล (OECE) จำนวน
2,070,848,089 เยน
พร้อมทั้งจัดสรรเงินงบประมาณสมทบจำนวน
436,754,902 บาท ในการก่อสร้าง
อาคารสูบน้ำดิบจาก
อ่างลำตะคอง
ส่งตามท่อเหล็กมายังโรงกรองน้ำที่มีขนาดกำลังผลิตน้ำประปาวันละ
58,000 ลูกบาศก์เมตร
ซึ่งตั้งอยู่ที่ บ้านมะขามเฒ่า อ.เมือง
จังหวัดนครราชสีมา พร้อมทั้งปรับปรุงโรงกรองน้ำประปาเดิมของเทศบาลเมือง
นครราชสีมา ให้มีกำลังการผลิตได้วันละ 88,000
ลูกบาศก์เมตร ซึ่งคาดว่าจะให้บริการแก่ประชาชนได้จนถึง
ปี 2543
สามารถให้บริการประชาชนประมาณ 300,000 คน
และมีโครงการระยะยาวเพื่อรองรับการเจริญ
เติบโตของเมือง คือ
โครงการปรับปรุงขยายการประปาเทศบาลนคร นครราชสีมามีโครงการเพื่อรองรับโรงงาน
อุตสาหกรรม และผู้บริโภค แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
-ระยะที่ 1 ใช้เวลา 20
ปี พ.ศ. 2537 - 2556
-ระยะที่ 2 ใช้เวลา 15 ปี ระยะที่ 2 ปี
พ. ศ. 2557 - 2571
-ระยะที่ 3 ใช้เวลา 15 ปี ระยะที่ 3 ปี พ.ศ. 2572 -
2587 รวมสามระยะเป็นเวลา 50 ปี
ในแผนระยะที่ 1 ปี 2537 -
2556 ช่วง 20 ปีแรก ระบบน้ำดิบจะดำเนินการก่อสร้างสถานีสูบน้ำจากอ่างลำแซะ
และวางท่อส่งน้ำจากอ่างเก็บน้ำลำแซะมายังโรงกรองน้ำแห่งใหม่ ระบบผลิตน้ำประปา
จะดำเนินการก่อสร้างโรงผลิต
น้ำประปาแห่งใหม่ ขนาดกำลังผลิต 4,000
ลูกบาศก์เมตร/ ชั่วโมง ระบบจ่ายน้ำ จะดำเนินการวางระบบท่อจ่ายน้ำ
จากโรงกรองใหม่ สายหลักเข้าไปในพื้นที่เขตเทศบาล
พร้อมทั้งปรับปรุงวางท่อจ่ายน้ำเพิ่มเติมตามแนวถนนสายต่าง ๆ
การดำเนินงานในแผนระยะที่ 1 ประมาณว่าจะใช้เงิน 1,945
ล้านบาท
-ระบบน้ำดิบเป็นเงิน1,087.1ล้านบาท
-ระบบผลิตน้ำเป็นเงิน
514.2ล้านบาท (รวมที่ดิน)
-ระบบจ่ายน้ำเป็นเงิน 343.7ล้านบาท
ที่มา : เทศบาลนครนครราชสีมา หนังสือข่าวเทศบาล. เม.ย -พค.2540. หน้า
2
ศูยน์ข้อมูลท้องถิ่นเพื่อการพัฒนา,โคราชในทศวรรษหน้า,2536
สำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครราชสีมา, ข้อมูลการตลาด จังหวัดนครราชสีมา ประจำปี
2539
เทศบาลนครนครราชสีมา. รายงานประจำปี 2539
เทศบาลนครนครราชสีมา
|
เกษตรกรในจังหวัดใช้น้ำจากกรมชลประทานเพื่อประกอบอาชีพ |
|
แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
จังหวัดใช้น้ำเพื่อการเกษตรจากแหล่งน้ำต่าง ๆ ดังนี้
1.
โครงการพัฒนาลำน้ำสาขาห้วยสามบท อันเนื่องมาจากพระราชดำริ (อ.ด่านขุนทด)
ของกรมชลประทาน
งบประมาณ 210.86 ล้านบาท
2 .
โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกรตอนบน (อ. ด่านขุนทด) งบประมาณ 73.5
ล้านบาท
3 . โครงการขุดลอกคลองส่งน้ำหนองระเวียง (อ.เมือง)
ของสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท งบประมาณ 12.0 ล้านบาท
โครงการส่งน้ำขนาดเล็ก ที่ก่อสร้างเสร็จ ปี 2520 - 2539
มีพื้นที่ได้รับประโยชน์ 311,509 ไร่ จำนวน
โครงการ 462 แห่ง
มีความจุ 62,431,842 ลูกบาศก์เมตร
โครงการชลประทานขนาดเล็ก 6
โครงการ
โครงการชลประทานขนาดกลาง
ที่ก่อสร้างเมื่อ
ปี 2500 - 2530
มีความจุ161,731(ล้านลูกบากศ์เมตร)
พื้นที่รับน้ำฝน 2,363.30
ตารางกิโลเมตร
พื้นที่ชลประทาน
96,120 ไร่
คลองส่งน้ำฝั่งซ้ายยาว44,517 กิโลเมตร
คลองส่งน้ำฝั่งขวายาว94,565
กิโลเมตร
สรุป โครงการชลประทาน สิ้นสุดในปี 2539
มี 35 โครงการ สามารถเก็บน้ำได้ 868.01 ล้านลูกบาศก์เมตร
รวมพื้นที่ชลประทาน 631,715 ไร่ เป็นโครงการใหญ่
5 โครงการ เก็บน้ำได้ 698 ล้านลูกบาศก์เมตร รวม
พื้นที่ 545.250 ไร่
และโครงการขนาดกลาง 30 โครงการ เก็บน้ำได้
170.01 ล้านลูกบาศก์เมตร รวม
พื้นที่ 86,465
ไร่
สำนักงานเลขานุการ
กรอ.นม.,ข้อมูลจังหวัดนครราชสีมาโดยย่อ
การก่อสร้างในปี 2540
โครงการขนาดใหญ่ 1 โครงการ คือเขื่อนลำพระเพลิง 1 มีแผนการก่อสร้างในปี 2540
ด้วยงบประมาณ 89,000,000 บาท ที่ตั้ง ตำบลวังหมี อำเภอปักธงชัย พื้นที่รับน้ำฝน
51.20 ตารางกิโลเมตร
ความจุ 40.845 ตารางกิโลเมตร
มีพื้นที่จะได้รับประโยชน์ 3,500 ไร่
ปัญหาการขาดแคลนน้ำ เนื่องจากสภาพพื้นที่ของจังหวัดนครราชสีมาเป็นที่ราบสูง
และมีพื้นที่ที่สามารถจัดทำเป็น
แหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ได้เพียงบริเวณพื้นที่ค่อนลงมาทางด้านใต้ของจังหวัด
ประกอบกับสภาพน้ำใต้ดินของ
จังหวัดส่วนใหญ่
มีปริมาณการให้น้ำน้อย
และคุณภาพน้ำไม่ดีเพราะมีความเค็มไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้
จากสภาพดังกล่าวทำให้ปัจจุบัน
จังหวัดนครราชสีมามีพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในเขตชลประทานเพียงร้อยละ 11 ของ
พื้นที่การเกษตรทั้งหมด
ประสบปัญหาภัยแล้งอยู่ทั่วไปในทุกพื้นที่อำเภอของจังหวัดเป็นประจำทุกปี
การพัฒนาต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้น เช่น อุตสาหกรรม
จึงประสบปัญหาเรื่องการขาดแคลนน้ำด้วยเช่นกัน
แนวทางการแก้ไขของจังหวัด ใน
เรื่องนี้ได้มีการศึกษาโดยองค์กรความช่วยเหลือของประเทศญี่ปุ่น
(ไจก้า) ซึ่งได้ให้ข้อเสนอแนะว่าพื้นที่ลักษณะเช่น
จังหวัดนครราชสีมาจะต้องมีการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำด้วยวิธีการผันน้ำจากแม่น้ำสายสำคัญเข้ามากักเก็บไว้ใน
ช่วงฤดูฝน เพื่อจะได้นำมาใช้ประโยชน์ในช่วงฤดูแล้ง
ได้เริ่มต้นทำการศึกษาถึงเรื่องแหล่งน้ำเพื่อการนี้แล้ว ในโครง
การ
จัดทำแผนปฏิบัติการ
พัฒนาทรัพยากร ระบบน้ำลำมูลบน - ลำพระเพลิง
|
สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
จังหวัดนครราชสีมา |
|
ไฟฟ้า ในปี 2538 หมู่บ้านที่ใช้ไฟฟ้า
จำนวนทั้งหมด 2,973 หมู่บ้าน และในปี 2539 มี 3,265
หมู่บ้าน 26
อำเภอ 4 กิ่งอำเภอหมู่บ้านที่มีไฟใช้คิดเป็นร้อยละ 98.31
ของทั้งหมด ในปี 2538 จำนวนหมู่บ้าน
ที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้นั้น
ร้อยละ 4
เนื่องจากมีอุปสรรคจากสาเหตุที่หมู่บ้านดังกล่าวอยู่ในเขตป่าสงวนฯ
วนอุทยาน
อยู่ในเขตทหารหรืออยู่ในเขตชลประทาน
ในปี 2540
ไฟฟ้าในจังหวัดนครราชสีมาปัจจุบันครอบคลุมจำนวนผู้ใช้เกือบทั้ง 26 อำเภอ 6 กิ่ง มี
3,245 หมู่บ้าน
ที่มีไฟใช้ มี 17 หมู่บ้านที่ยังไม่มีไฟฟ้า เนื่องจาก
อยู่ในเขตชลประทาน หรืออยู่ในระหว่างขออนุญาต (อยู่ในกิ่งอำเภอ
เทพารักษ์และเขตกิ่งอำเภอพระทองคำ)
ที่มา :
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. 2529
การใช้ไฟฟ้า เทศบาลมีกำลังจ่ายไฟฟ้า
ในเขตเทศบาล 337.5 เมกะวัตต์ จาก 5 สถานี ถึงปี 2539
ดังนี้คือ
นม.
1
กำลังจ่าย
100 เมกะวัตต์
นม.
2
กำลังจ่าย
100 เมกะวัตต์
นม.
3
กำลังจ่าย
25 เมกะวัตต์
อยู่ในเขตอุตสาหกรรมสุรนารี
นม.
4
กำลังจ่าย
50
เมกะวัตต์
สีคิ้ว
กำลังจ่าย
50 เมกะวัตต์
ปากช่อง
กำลังจ่าย
50 เมกะวัตต์
คง ( พิมาย )
กำลังจ่าย 12.5
เมกะวัตต์
โครงการไฟฟ้าพลังน้ำลำตะคองแบบสูบกลับ ที่อำเภอสีคิ้วของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต จะแล้วเสร็จในปี 2546
จะเพิ่มกำลัง
สำรองให้กับจังหวัดนครราชสีมาได้อีกระบบหนึ่ง
คาดว่าจะมีกำลังการผลิตทั้งหมด 1,000 เมกะวัตต์ (4 * 250)
เป็นโครงการที่อำนวยประโยชน์ให้จังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดอื่น ๆ
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในปี 2537
การไฟฟ้ามีสถานที่ผลิตไฟฟ้าทั้งสิ้น
47 แห่ง มีกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าที่ใช้ทั้งสิ้น 1,104,091,516 หน่วย
(ยูนิต) ในปี 2538 ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 1,374,000,000.83 หน่วย
(ยูนิต) ในปี 2539 มีที่ทำการเพิ่มขึ้น
อีก 26 แห่ง ผลิตกระแสไฟฟ้าได้
1,594,000,000.31 หน่วย (ยูนิต) มีกระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 269.66 เมกกะวัตต์
(โหลด เพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.19) การผลิตกระแสไฟฟ้าในปี 2540
ผลิตเพิ่มขึ้น 294.43 เมกกะวัตต์ (โหลดเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 9.19) และในปี
2541 ผลิตเพิ่มขึ้น 323.73 เมกกะวัตต์
คิดเป็นร้อยละ 9.95
ที่มา : ข้อมูลการใช้ไฟฟ้าในจังหวัด
ตั้งแต่เดือนมกราคม - ธันวาคม 2539
|